งานนำเสนอ ประวัติพจนา

วันพฤหัสบดีที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2554

แบบฝึกหัด บทที่ 2

บลูเรย์ (Blu-ray Disc)
บลูเรย์ดิสค์ (Blu-ray Disc) หรือ บีดี (BD) คือรูปแบบของแผ่นออพติคอลสำหรับบันทึกข้อมูลความละเอียดสูง ชื่อของบลูเรย์มาจาก ช่วงความยาวคลื่นที่ใช้ในระบบบลูเรย์ ที่ 405 nm ของเลเซอร์สี "ฟ้า" ซึ่งทำให้สามารถทำให้เก็บข้อมูลได้มากกว่าดีวีดี ที่มีขนาดแผ่นเท่ากัน โดยดีวีดีใช้เลเซอร์สีแดงความยาวคลื่น 650 nm
ประวัติ
มาตรฐานของบลูเรย์พัฒนาโดย กลุ่มของบริษัทที่เรียกว่า Blu-ray Disc Association ซึ่งนำโดย ฟิลิปส์ และ โซนี เปรียบเทียบกับ เอ็ชดีดีวีดี (HD-DVD) ที่มีลักษณะและการพัฒนาใกล้เคียงกัน บลูเรย์มีความจุ 25 GB ในแบบเลเยอร์เดียว (Single-Layer) และ 50 GB ในแบบสองเลเยอร์ (Double-Layer) ขณะที่ เอ็ชดีดีวีดีแบบเลเยอร์เดียว มี 15 GB และสองเลเยอร์มี 30 GB
ความจุของบลูเรย์ดิสค์  ซึ่งปกติแผ่นบลูเรย์นั้นจะมีลักษณะคล้ายกับแผ่น ซีดี/ดีวีดี โดยแผ่นบลูเรย์จะมีลักษณะแบบหน้าเดียว และสองหน้า โดยแต่ละหน้าสามารถรองรับได้มากถึง 2 เลเยอร์ อาทิ
 แผ่น BD-R (SL) หมายถึง Blu-Ray Disc ROM แบบ Single Layer แบบหน้าเดียว มีความจุ 25 GB
แผ่น BD-R (DL) หมายถึง Blu-Ray Disc ROM แบบ Double Layer แบบหน้าเดียว มีความจุ 50 GB
แผ่น BD-R (2DL) หมายถึง Blu-Ray Disc ROM แบบ Double Layer แบบสองหน้า มีความจุ 100 GB
ส่วนความเร็วในการอ่านหรือบันทึกแผ่น Blu-Ray ที่มีค่า 1x, 2x, 4x ในแต่ละ 1x จะมีความเร็ว 36 เมกะบิต ต่อ วินาที นั่นหมายความว่า 4x นั่นจะสามารถบันทึกได้เร็วถึง 144 เมกะบิต ต่อ วินาที โดยมี นักวิทยาศาสตร์จาก NASA เป็น ผู้พัฒนาต่อจาก ระบบบันทึกข้อมูลที่ใช้ในโครงการอวกาศ

1. องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์ มีอะไรบ้าง
  1. ฮาร์ดแวร์ (Hardware)
  2. ซอฟต์แวร์ (Software)
  3. บุคลากร (People ware)
  4. ข้อมูลและสารสนเทศ (Data / Information)
  5. กระบวนการทำงาน (Procedure)
  6. ระบบสื่อสารข้อมูล (Data Communication)
2. ฮาร์ดแวร์ (Hardware) คืออะไร
คือ ลักษณะทางกายของเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งหมายถึงตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ และ อุปกรณ์รอบข้าง (peripheral) ที่เกี่ยวข้อง เช่น ฮาร์ดดิสก์ เครื่องพิมพ์ เป็นต้น ฮาร์ดแวร์ประกอบด้วย
    • หน่วยรับข้อมูล ( input unit )
    • หน่วยประมวลผลกลาง ( central processor unit ) หรือ CPU
    • หน่วยความจำหลัก
    • หน่วยแสดงผลลัพธ์ (output unit )
    • หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง (secondary storage unit )
3.ซอฟต์แวร์ (Software) คืออะไร
คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ที่ประกอบออกมาจากโรงงานจะยังไม่สามารถทำงานใดๆ เนื่องจากต้องมี ซอฟต์แวร์ (Software) ซึ่งเป็นชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่สั่งให้ฮาร์ดแวร์ทำงานต่าง ๆ ตามต้องการ โดยชุดคำสั่งหรือโปรแกรมนั้นจะเขียนขึ้นมาจาก ภาษาคอมพิวเตอร์ (Programming Language) ภาษาใดภาษาหนึ่ง และมี โปรแกรมเมอร์ (Programmer) หรือนักเขียนโปรแกรมเป็นผู้ใช้ภาษาคอมพิวเตอร์เหล่านั้นเขียนซอฟต์แวร์ต่าง ๆ ขึ้นมา ซอฟต์แวร์ สามารถแบ่งออกเป็นสองประเภทใหญ่ๆคือ
    • ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software )
    • ซอฟต์แวร์ประยุกต์ ( Application Software )

4.หน้าที่ของอุปกรณ์รับข้อมูลเข้า คือ
หน้าที่ของอุปกรณ์รับข้อมูลเข้า คือ เป็นอุปกรณ์รับเข้าทำหน้าที่รับโปรแกรมและข้อมูลเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์รับเข้าที่ใช้กันเป็นส่วนใหญ่คือ แผงแป็นอักขระ (keyboard) และเมาส์ (mouse)  นอกจากนี้ เช่น VDO camera,Scanner,Microphone ,Trackball ,Joystick เป็นต้น

5.หน้าที่ของอุปกรณ์ประมวลผล คือ
หน้าที่ของอุปกรณ์ประมวลผล คือ การประมวลผลของคอมพิวเตอร์เกิดขึ้นจากการทำงานประสานกันของหน่วยประมวลผลและหน่วยความจำหลักหรือหน่วยความจำภายใน โดยหน่วยประมวลผลจะทำหน้าที่ควบคุมและปฏิบัติการตามขั้นตอนของโปรแกรม ในขณะที่หน่วยความจำจะเป็นที่พักของโปรแกรม ข้อมูลนำเข้า และผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลก่อนนำออกไปแสดงทางอุปกรณ์แสดงผล

6.หน้าที่ของหน่วยความจำ คือ
หน้าที่ของหน่วยความจำ คือ เป็นส่วนที่หน้าที่ในการเก็บคำสั่งและข้อมูล รวมทั้งผลที่ได้จากการประมวลผลจากส่วนคำนวณและเปรียบเทียบ นอกจากนี้ยังทำหน้าที่ในการส่งหรือคัดลอก (Copy) ข้อมูลจากหน่วยความจำไปยังหน่วยอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องข้อมูล แต่ละข้อมูลจะถูกกำหนดตำแหน่งให้เก็บในหน่วยความจำเพียงตำแหน่งเดียวหน่วยความจำกำหนดเป็นไบต์ (Byte) ซึ่งหมายถึงตัวอักษรหรือสัญลักษณ์ 1 ตัว ที่กำหนดเป็นรหัสจากบิต (Bit) ตามมาตรฐานการกำหนดรหัส

7.จงบอกถึงหน่วยความจำสำรอง
หน่วยความจำสำรอง หรือหน่วยความจำภายนอก (Secondary Memory or External  Memory) เป็นหน่วยความจำที่มิได้ติดอยู่กับเครื่องตลอดเวลสามาถเคลื่อนย้ายไปมาได้ มีราคาถูกสามารถเก็บข้อมูลได้มาก ที่นิยมใช้ปัจจุบัน เป็นประเภทของ Diskette 3.5 นิ้ว (ความจุ 1.44 MB.), แผ่น Compact Disc: CD (ความจุ 650 MB.) ซึ่ง Compact Disc นี้กำลังเริ่มได้รับความนิยมเป็นอย่างมากเนื่องจากสามารถเขียนและอ่านได้เป็นอย่างดี จึงสามารถทำงานได้เทียบกับหน่วยความจำหลักเลยทีเดียว

8.หน้าที่ของอุปกรณ์แสดงผล คือ
เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่รับผลจากการประมวลผลที่เก็บไว้ในหน่วยความจำหลัก ออกแสดงตามลักษณะของอุปกรณ์ ซึ่งมีอยู่ไม่กี่ประเภทที่นิยมใช้ คือ จอภาพ เป็นอุปกรณ์แสดงผลที่สามารถติดต่อกับผู้ใช้คอมพิวเตอร์ได้ทันทีที่มีการประมวลผลเกิดขึ้น ทำให้ผู้ใช้งานสามารถสั่งให้ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงได้ทันทีจอภาพมีหลายชนิด เช่น แบบโมโนโครม แบบเกร์สเกล และแบบสี เป็นต้น
อุปกรณ์แสดงผลของคอมพิวเตอร์ เช่น
o       จอแสดงผล หน้าจอ LCD,CRT
o       Sound Card (การ์ดเสียง)
o       ลำโพง (Speaker)
o       เครื่องพิมพ์ (Printer)

9.จงบอกถึงอุปกรณ์ในการพิมพ์
คือ อุปกรณ์ที่ต่อพ่วงกับคอมพิวเตอร์ทำหน้าที่พิมพ์แฟ้มดิจิทอล (Soft Copy) ออกมาเป็นเอกสารในรูปกระดาษ (Hard Copy) แฟ้มดิจิทอลที่อยู่ในคอมพิวเตอร์อาจเป็นภาพ ตัวอักษร และมีสีที่แตกต่างกัน เครื่องพิมพ์ที่น่าใช้มีให้เลือกมากมายด้วยคุณสมบัติที่เพิ่มขึ้นกว่าในอดีตที่ใช้เพื่องานพิมพ์เท่านั้น เช่น คัดลอกเอกสารหรือเป็นเครื่องถ่ายเอกสาร แปลงข้อมูลจากเอกสารเป็นแฟ้มดิจิทอล พิมพ์เอกสารจากแฟ้มดิจิทอล เป็นเครื่องโทรสาร และโทรศัพท์ในเครื่องเดียวกัน รูปแบบของการพิมพ์แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
เครื่องพิมพ์ชนิดกระทบ (Impact printer) ใช้การตอกให้คาร์บอนบนผ้าหมึกติดบนกระดาษตามรูปแบบที่ต้องการ
เครื่องพิมพ์ชนิดไม่กระทบ (Nonimpact printer) ใช้เทคนิคการพิมพ์จากวิธีการทางเคมี

10.หน้าที่ของบุคลากรคอมพิวเตอร์
บุคลากรทีมีความเกี่ยวข้องกับระบบคอมพิวเตอร์ มีบทบาทและหน้าที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับลักษณะของงานที่รับผิดชอบ ซึ่งสามารถสรุปเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ดังนี้
1.1. ผู้จัดการระบบ (System Manager) 
คือ ผู้วางนโยบายการใช้คอมพิวเตอร์ให้เป็นไปตามเป้าหมายของหน่วยงาน
1.2. นักวิเคราะห์ระบบ (System Analyst) 
คือ ผู้ที่ศึกษาระบบงานเดิมหรืองานใหม่และทำการวิเคราะห์ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ในการใช้คอมพิวเตอร์กับระบบงาน เพื่อให้โปรแกรมเมอร์เป็นผู่เขียนโปรแกรมให้กับระบบงาน
1.3.โปรแกรมเมอร์ (Programmer) 
คือ ผู้เขียนโปรแกรมสั่งงานเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อให้ทำงานตามความต้องการของผู้ใช้ โดยเขียนตามแผนผังที่นักวิเคราะห์ระบบได้เขียนไว้
1.4 ผู้ใช้ (User) 
คือ ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ทั่วไป ซึ่งต้องเรียนรู้วิธีการใช้เครื่อง และวิธีการใช้งานโปรแกรม เพื่อให้โปรแกรมที่มีอยู่สามารถทำงานได้ตามที่ต้องการ
เนื่องจากเป็นผู้กำหนดโปรแกรมและใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ มนุษย์จึงเป็นตัวแปรสำคัญในอันที่จะทำให้ผลลัพธ์มีความน่าเชื่อถือ เนื่องจากคำสั่งและข้อมูลที่ใช้ในการประมวลผลได้รับจากการกำหนดของมนุษย์ (Peopleware) ทั้งสิ้น





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น