1.จงอธิบายความหมายของคำดังต่อไปนี้ พร้อมยกตัวอย่างเหตุการณ์ในชีวิตประจำวัน
1.1 เทคโนโลยี
เทคโนโลยี (Technology) หมายถึง การนำความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ หรือความรู้ด้านอื่นๆ ที่ได้จัดระเบียบดีแล้วมาประยุกต์ใช้ในด้านใดด้านหนึ่ง เพื่อให้งานนั้นมีความสามารถและประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น
1.2 สารสนเทศ
สารสนเทศ (Information) หมายถึง ข้อมูลที่ผ่านกระบวนการเก็บรวบรวมและเรียบเรียง เพื่อใช้เป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้
1.3 เทคโนโลยีสารสนเทศ
เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) หมายถึง การนำเทคโนโลยีมาใช้ในงานที่เกี่ยวกับการประมวลข้อมูลเพื่อให้ได้สารสนเทศ ซึ่งเทคโนโลยีที่ใช้เป็นการผสมผสานระหว่างเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์กับเทคโนโลยีการสื่อสารเพื่อช่วยในการสื่อสาร และการส่งผ่านข้อมูลและสานสนเทศได้สะดวกรวดเร็วมากขึ้น
1.4 ข้อมูล
ข้อมูล (Data) คือ ข้อเท็จจริงหรือสาระต่าง ๆที่เกี่ยวข้องกับงานที่ปฏิบัติ อาจเป็นตัวเลขหรือข้อความที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงาน หรือที่ได้จากหน่วยงานอื่น ๆ ข้อมูลเหล่านี้ ยังไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการตัดสินใจได้ทันที จะนำไปใช้ได้ก็ต่อเมื่อผ่านกระบวนการประมวลผลแล้ว
1.5 ฐานความรู้
ฐานความรู้ (knowledge base) คือ สารสนเทศที่ได้จัดเป็นโครงสร้างความรู้ความเข้าใจ ประสบการณ์ ความเชี่ยวชาญและต้องมีคุณค่าเพื่อแก้ไขปัญหาในการดำเนินงานต่างๆได้
2.โครงสร้างสารสนเทศมีอะไรบ้าง จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่าง
- ระดับล่างสุด เป็นการใช้คอมพิวเตอร์ทำงานประมวลผลข้อมูล ซึ่งเรียกว่าระบบการประมวลผลรายการ (transaction processing system)
- ระดับที่สอง เป็นการใช้คอมพิวเตอร์จัดทำสารสนเทศ เพื่อใช้ในการวางแผนการตัดสินใจและการควบคุมที่เกี่ยวเนื่องกับงานประจำวัน ซึ่งเรียกว่า งานควบคุมการดำเนินงาน (operation control)
- ระดับที่สาม เป็นการใช้คอมพิวเตอร์จัดทำสารสนเทศสำหรับผู้บริหารจัดการระดับกลางใช้ในการจัดการและวางแผนระยะสั้นตั้งแต่ 6 เดือน ถึง 1 ปี ซึ่งเรียกว่า งานควบคุมการจัดการ (management control)
- ระดับที่สี่ เป็นการใช้คอมพิวเตอร์จัดทำสารสนเทศสำหรับผู้บริหารจัดการระดับสูง สำหรับใช้ในงานวางแผนระยะยาว ซึ่งเรียกว่าการวางแผนกลยุทธ์ (strategic planning)
ตัวอย่าง
3.วิวัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศมีอะไรบ้าง จงอธิบาย จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่าง
เทคโนโลยีสารสนเทศ ค.ศ. 1950 - 1960 ระบบการประมวลผลข้อมูล
ยุคนี้เป็นยุคแรก ๆ ของการนำคอมพิวเตอร์มาใช้งาน บทบาทของคอมพิวเตอร์ยังเป็นบทบาทที่ง่าย ๆ เป็นการนำเอาคอมพิวเตอร์มาช่วยทำงานประจำที่ใช้มนุษย์ปฏิบัติเช่น การทำบัญชี การเก็บรักษาบันทึกต่างๆ และการประมวลผลทางอิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ
เทคโนโลยีสารสนเทศ ค.ศ.1960-1970 ระบบสร้างรายงานสำหรับผู้บริหาร
หลังจากการนำเอาคอมพิวเตอร์มาประมวลผลงานรายการต่าง ๆ ได้มีการเพิ่มบทบาทของคอมพิวเตอร์มาช่วยงานของผู้บริหาร โดยเริ่มมีการใช้คอมพิวเตอร์สร้างรายงาน การปฏิบัติงานต่าง ๆ ที่มีการกำหนดรูปแบบรายละเอียดไว้ล่วงหน้าเป็นการสรุปผลการทำงานสำหรับผู้บริหารเพื่อประกอบการตัดสินใจ เช่น รายงานยอดขายประจำสัปดาห์ ประจำเดือน หรือประจำปี รายงานรายได้รายจ่ายขององค์กรหรือธุรกิจ เป็นต้น
เทคโนโลยีสารสนเทศ ค.ศ.1970-1980 ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ
ต่อมาผู้บริหารพบว่ารายงานที่มีการกำหนดรายละเอียดไว้ก่อนเพียงอย่างเดียวนั้น ยังไม่เพียงพอต่อการตัดสินใจของผู้บริหาร จึงเริ่มมีการพัฒนาระบบสนับสนุนการตัดสินใจขึ้นมา เป็นระบบที่นำมาช่วยในการจำลองเพื่อหาสารสนเทศที่จำเป็นสำหรับผู้บริหาร ซึ่งมักจะเป็นการคำนวณหาค่าที่ต้องการแล้วนำมาพิจารณาประกอบในการตัดสินใจต่าง ๆ บทบาทใหม่นี้เป็นการจัดหาสารสนเทศให้กับผู้บริหาร ณ เวลาที่ต้องการและเป็นแบบที่ผู้บริหารโต้ตอบกับระบบโดยตรงเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจ ลักษณะของระบบสนับสนุนการตัดสินใจนี้จะเป็นระบบเฉพาะสำหรับผู้บริหารแต่ละคนตามความต้องการและวิธีการตัดสินใจในปัญหาต่าง ๆ
เทคโนโลยีสารสนเทศ ค.ศ. 1990-ปัจจุบัน ระบบเครือข่ายสากล
ตั้งแต่ทศวรรษ 1990 เป็นต้นมา พัฒนาการทางด้านการเชื่อมต่อเครือข่ายเป็นการ เชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบเปิดที่เครือข่ายใด ๆ ในโลกก็สามารถเชื่อมต่อเข้าสู่ ระบบได้ และยังมีการนำเทคโนโลยีการเชื่อมต่อแบบเดียวกันนี้ไปประยุกต์ใช้ในองค์กร เรียกว่า อินทราเน็ต (Intranet) และระหว่างองค์กรที่เป็นเครือข่ายพันธมิตร เรียกว่า เอกซ์ทราเน็ต (Extranet) การดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ โดยผ่านทางเครือข่ายเป็นไป อย่างกว้างขวาง สะดวก รวดเร็ว เช่น พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic commerce หรือ E-commerce) เป็นการซื้อขายสินค้าผ่านเครือข่าย ธนาคารอิเล็กทรอนิกส์ การดำเนินธุรกิจธนาคารทางเครือข่าย หรือแม้กระทั่งงานบริการจากฝ่ายรัฐบาล ที่เรียกว่า รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (E-government) เป็นต้น
เทคโนโลยีสารสนเทศ ค.ศ.1980-1990 บทบาทที่หลากหลาย
ระยะแรกสุด เป็นแบบผู้ใช้ปลายทางพัฒนาเอง (End user computing) โดยผู้ใช้ระบบสารสนเทศใช้ระบบคอมพิวเตอร์และทรัพยากรที่มีอยู่ในการพัฒนาระบบสารสนเทศมาสนับสนุนงานที่ตัวเองต้องการแทนการรอคอยให้ฝ่ายพัฒนาระบบขององค์กรพัฒนาให้
ระยะที่สอง มีการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหารระดับสูง (eis:executive informationsysttems) ขึ้นมา ระบบสารสนเทศ eis นี้ทำให้ผู้บริหารระดับสูงได้รับข่าวสารเกี่ยวกับจุดวิกฤติขององค์กรที่ต้องการได้ ณ เวลามี่ตองการและสารสนเทศนั้นถูกจัดอยู่ในรูปเเบบที่ต้องการ
ระยะที่สาม มีการพัฒนาระบบและการประยุกต์ระบบปัญญาดิษฐ์ (aL : ARTIFICIALINTELLIGNCE) เป็นระบบที่นำเอาความเชี่ยวชาญ ประสบการณ์ของผู้รู้มาใส่ในคอมพิวเตอร์ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาให้กับผู้ใช้ เมื่อผู้ใช้ต้องการปรึกษาก็จะสอบถามเข้าไปในระบบ ระบบจะไปค้นหาวิธีการต่าง ๆ ที่ผู้เชี่ยวชาญใช้ในการปฏิบัติต่อปัญหาต่าง ๆ พร้อมเหตุผล แสดงออกมาให้ผู้ใช้นำไปประกอบการตัดสินใจ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น