งานนำเสนอ ประวัติพจนา

วันอังคารที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2554

แบบฝึกหัด บทที่ 4

1. สื่อกลางประเภทมีสาย มีข้อดีข้อเสียอย่างไรบ้าง จงเปรียบเทียบ
1. สายคู่ตีเกลียว (Twisted-Pair Cable) เป็นสายที่มีราคาถูกที่สุด ประกอบด้วยสายทองแดงที่มีฉนวนหุ้ม 2 เส้น นำมาพันกันเป็นเกลียว จะใช้กันแพร่หลายในระบบโทรศัพท์ ความเร็วในการส่งข้อมูล 10 Mbps ส่งได้ในระยะทาง 1 mile สายคู่ตีเกลียวสามารถแบ่งได้เป็น 2 ชนิดคือ
         1.1 สายคู่ตีเกลียวแบบไม่มีชิลด์ (Unshielded Twisted-Pair : UTP) เป็นสายเคเบิลที่ถูกรบกวนจากภายนอกได้ง่าย แต่ก็มีความยืดหยุ่นในการใช้งานสูงและราคาไม่แพง
  
        1.2 สายคู่ตีเกลียวแบบมีชิลด์ (Shielded Twisted-Pair : STP) เป็นสายที่มีปลอกหุ้มอีกรอบเพื่อ ป้องกันสัญญาณรบกวนจากภายนอก จึงทำให้สายเคเบิลชนิดนี้สามารถใช้ในการเชื่อมต่อในระยะไกลได้มากขึ้น แต่ราคาแพงกว่าแบบ UTP



2. สายโคแอกเชียล (Coaxial Cable) สายโคแอกเชียลเป็นสายสัญญาณอีกแบบหนึ่ง จะประกอบด้วยลวดทองแดงอยู่ตรงกลาง หุ้มด้วยฉนวนพลาสติก 1 ชั้น แล้วจึงหุ้มด้วยทองแดงที่ถักเป็นแผ่น แล้วหุ้มภายนอกอีกชั้นหนึ่งด้วยฉนวน สามารถป้องกันการรบกวนของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าและสัญญาณรบกวนอื่นๆ ใช้ในระบบโทรทัศน์ ความเร็วในการส่งข้อมูล 350 Mbps ส่งได้ในระยะทาง 2-3 mile

ข้อดีและข้อเสียของสายโคแอกเชียล
ข้อดี
1. ราคาถูก
2. มีความยืดหยุ่นในการใช้งาน
3. ติดตั้งง่าย และมีน้ำหนักเบา
ข้อเสีย

1. ถูกรบกวนจากสัญญาณภายนอกได้ง่าย
2. ระยะทางจำกัด
3. สายใยแก้วนำแสง (Fiber Optic Cable) ประกอบด้วยเส้นใยที่ทำมาจากใยแก้ว 2 ชนิด ชนิดหนึ่งจะอยู่ที่แกนกลาง ส่วนอีกชนิดหนึ่งอยู่ที่ด้านนอก ซึ่งใยแก้วทั้งสองจะมีดัชนีการสะท้อนแสงต่างกัน ทำให้แสงซึ่งถูกส่งออกมาจากปลายด้านหนึ่งสามารถส่งผ่านไปอีกด้านหนึ่งได้ ใช้สำหรับส่งข้อมูลที่ต้องการความเร็วสูง มีข้อมูลที่ต้องการส่งเป็นจำนวนมาก และอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีสัญญาณไฟฟ้ารบกวนมาก ความเร็วในการส่งข้อมูล 1 Gbps ระยะทางในการส่งข้อมูล 20-30 mile

ข้อดีข้อเสียของสายใยแก้วนำแสง
ข้อดี
1. ส่งข้อมูลด้วยความเร็วสูง
2. ไม่มีการรบกวนทางแม่เหล็กไฟฟ้า
3. ส่งข้อมูลได้ในปริมาณมาก
ข้อเสีย
1. มีราคาแพงกว่าสายส่งข้อมูลแบบสายคู่ตีเกลียวและโคแอกเชียล
2. ต้องใช้ความชำนาญในการติดตั้ง
3. มีค่าใช้จ่ายในการติดตั้งสูงกว่า สายคู่ตีเกลียวและโคแอกเชียล

2. สื่อกลางประเภทไม่มีสาย มีข้อดีข้อเสียอย่างไรบ้าง จงเปรียบเทียบ
1. ระบบไมโครเวฟ (Microwave System) กลไกของการสื่อสารและรับสัญญาณของไมโครเวฟใช้จานสะท้อนรูปพาลาโบลา เป็นระบบที่ใช้วิธีส่งสัญญาณที่มีความถี่สูงกว่าคลื่นวิทยุเป็นทอดๆ จากสถานีหนึ่งไปยังอีกสถานีหนึ่ง และสัญญาณของไมโครเวฟจะเดินทางเป็นเส้นตรง ดังนั้นสถานีจะต้องพยายามอยู่ในที่สูงๆ สถานีหนึ่งๆ จะ ครอบคลุมพื้นที่ที่รับสัญญาณได้ 30-50 กม. ความเร็วในการส่งข้อมูล 200-300 Mbps ระยะทาง 20-30 mile และยังขึ้นอยู่กับความสูงของเสาสัญญาณด้วย

2. ระบบดาวเทียม (Satellite System) ใช้หลักการคล้ายกับระบบไมโครเวฟ ในส่วนของการยิงสัญญาณจากแต่ละสถานีต่อกันไปยังจุดหมายที่ต้องการ โดยอาศัยดาวเทียมที่โคจรอยู่รอบโลก ขั้นตอนในการส่งสัญญาณมี ทั้งหมด 3 ขั้นตอนคือ
         2.1 สถานีต้นทางจะส่งสัญญาณขึ้นไปยังดาวเทียม เรียกว่าสัญญาณเชื่อมต่อขาขึ้น (Up-Link)
         2.2 ดาวเทียมจะตรวจสอบตำแหน่งสถานีปลายทาง หากอยู่นอกเหนือขอบเขตสัญญาณจะส่งต่อไปยังดาวเทียมที่ครอบคลุมสถานีปลายทางนั้น
        2.3 หากยู่ในขอบเขตพื้นที่ที่ครอบคลุมจะทำการส่งสัญญาณไปยังสถานีลายทาง เรียกว่าสัญญาณเชื่อมต่อขาลง (Down-Link) อัตราเร็วในการส่ง 1-2 Mbps

ข้อดีและข้อเสียของระบบไมโครเวฟ ข้อดี1. ใช้ในพื้นที่ซึ่งการเดินสายกระทำได้ไม่สะดวก
2. ราคาถูกกว่าสายใยแก้วนำแสงและดาวเทียม
3. ติดตั้งง่ายกว่าสายใยแก้วนำแสงและดาวเทียม
4. อัตราการส่งข้อมูลสูง
ข้อเสียสัญญาณจะถูกรบกวนได้ง่ายจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า จากธรรมชาติ เช่น พายุ หรือฟ้าผ่า
ข้อดีและข้อเสียของระบบดาวเทียม
ข้อดี
1. ส่งสัญญาณครอบคลุมไปยังทุกจุดของโลกได้
2. ค่าใช้จ่ายในการให้บริการส่งข้อมูลของระบบดาวเทียมไม่ขึ้นอยู่กับระยะทางที่ห่างกันของสถานีพื้นดิน
ข้อเสีย
มีเวลาหน่วง (Delay Time) ในการส่งสัญญาณ

3. ระบบอื่นๆ
3.1 ระบบวิทยุ (Radio Transmission) จะใช้คลื่นวิทยุในการส่งผ่านข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์ จะมีปัญหากับการขออนุญาตใช้คลื่นความถี่
3.2 ระบบอินฟราเรด (Infrared Transmission) ใช้เทคโนโลยีเช่นเดียวกับ remote control ของเครื่องรับโทรทัศน์ จะมีข้อจำกัดที่ต้องใช้งานเป็นเส้นตรง ระหว่างเครื่องรับ และเครื่องส่ง รวมทั้งไม่อาจมีสิ่งกีดขวางด้วย
3.3 โทรศัพท์เคลื่อนที่ (Cellular Transmission) จะอาศัยการส่งสัญญาณของโทรศัพท์เคลื่อนที่ในการส่งผ่านข้อมูล

3. PAN และ SAN คืออะไรจงอธิบาย
PAN คือ "ระบบการติดต่อสื่อสารไร้สายส่วนบุคคล" ย่อมาจาก Personal Area Network หรือเรียกว่า BluetoothPersonal Area Network (PAN)คือเทคโนโลยีการเข้าถึงไร้สายในพื้นที่เฉพาะส่วนบุคคล โดยมีระยะทางไม่เกิน 1เมตร และมีอัตราการรับส่งข้อมูลความเร็วสูงมาก (สูงถึง 480 Mbps) ซึ่งเทคโนโลยีที่ใช้กันแพร หลาย ก็เช่น• Ultra Wide Band (UWB) ตามมาตรฐาน IEEE 802.15.3a• Bluetooth ตามมาตรฐาน IEEE 802.15.1• Zigbee ตามมาตรฐาน IEEE 802.15.4เทคโนโลยีเหล่านี้ใช้สำหรับการติดต่อสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง(peripherals) ให้สามารถรับส่งข้อมูลถึงกันได้ และยังใช้สำหรับการรับส่งสัญญาณวิดีโอที่มีความละเอียดภาพสูง (high-definition video signal) ได้ด้วยPersonal Area Network (PAN)ช่วยให้เราสามารถจัดการข้อมูลระหว่างอุปกรณ์ต่างๆที่เคลื่อนที่ไปมาได้อย่างหลากหลาย
SAN เป็นระบบเครือข่ายของที่เก็บข้อมูล โดยนำอุปกรณ์ที่จัดเก็บข้อมูลมาติดตั้งรวมกันเป็นเครือข่าย มีระบบจัดการข้อมูลบนเครือข่ายที่ทำให้รับส่งข้อมูลได้รวดเร็ว ทำให้ข้อมูลที่เก็บเสมือนเป็นส่วนกลางที่แบ่งให้กับซีพียูหลายเครื่องได้
การจัดเก็บที่เก็บแบบนี้จึงต้องสร้างสถาปัตยกรรมใหม่ เพื่อให้รองรับระบบดังกล่าว การทำงานนี้จึงคล้ายกับการสร้างเครือข่ายของที่เก็บข้อมูลแยกต่างหาก เป็นการสร้างระบบจัดเก็บข้อมูลขนาดใหญ่อย่างมีประสิทธิภาพได้ และสามารถใช้งานได้ดีกว่าแบบเดิม ด้วยเหตุผลที่แนวโน้มของการเก็บข้อมูลข่าวสารความรู้ในองค์กรมีมาก การดูแลฐานความรู้และข้อมูลข่าวสารขนาดใหญ่ จำเป็นต้องมีการสร้างระบบเพื่อรองรับองค์กรในอนาคต SAN จึงเป็นทางเลือกหนึ่งของการบริหารและจัดเก็บข้อมูลบนเครือข่าย มีความเชื่อถือได้ในระดับสูงกำลังจะกลายเป็นของคู่กันสำหรับระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดกลางและขนาดใหญ่ในอนาคตในบ้านเรา แต่สำหรับในต่างประเทศ เรื่องนี้กลายเป็นเรื่องปกติ Storage Area Network หรือ SAN เป็นระบบโครงสร้างที่มีการเชื่อมต่อทางข้อมูลข่าวสารระหว่างกลุ่มของอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลที่ล้ำหน้า ที่จะช่วยให้สามารถจัดเก็บและดึงข้อมูลขนาดใหญ่ หรือปริมาณมหาศาล ออกมาใช้งานได้อย่างรวดเร็ว ปลอดภัย และง่ายต่อการบริหารจัดเก็บข้อมูล ระบบของ SAN ไม่ใช่ระบบคอมพิวเตอร์ แต่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของการจัดเก็บข้อมูลในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์หมายความว่า SAN ไม่ได้อยู่ในเครือข่ายแลน แต่อยู่ด้านหลังของเซิร์ฟเวอร์ต่างๆ โดยทำหน้าที่ดูแลการจัดเก็บ และปลดปล่อยข้อมูลเพื่อสนองตอบกลุ่มของเซิร์ฟเวอร์ ซึ่งได้รับการร้องขอจากกลุ่มของไคลเอนต์บนเครือข่ายอีกทีหนึ่ง ดังนั้น SAN จึงไม่ใช่อุปกรณ์ตัวใดตัวหนึ่ง หรือคอมพิวเตอร์เซิร์ฟเวอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่ง แต่เป็นระบบบริหารการจัดเก็บและดูแลกลุ่มของอุปกรณ์การจัดเก็บข้อมูลที่มีประสิทธิภาพสูง โดยกลุ่มของอุปกรณ์การจัดเก็บข้อมูลเหล่านี้ มีการเชื่อมต่อกันทางด้านเครือข่ายก็จริง แต่ไม่ได้เชื่อมต่อผ่านทาง Switching Hub ธรรมดา แต่อาจเชื่อมต่อกันด้วยระบบ Fiber Channel Hub หรือ Switch หรือ เทคโนโลยีอื่น ๆ ที่กำลังจะมีมาในอนาคต
           SAN สามารถให้ความยืดหยุ่นในการบริการจัดการกับระบบ รวมทั้งการจัด Configuration ซึ่งในที่นี้หมายถึง ความยืดหยุ่นสูงในการกำหนด ขนาดหรือลดขนาดการบรรจุเก็บข้อมูลข่าวสารของระบบ
เราสามารถเพิ่มหรือลดจำนวนของเซิร์ฟเวอร์หรืออุปกรณ์จัดเก็บได้เต็มที่ โดยไม่กระทบต่อประสิทธิภาพการทำงานของ SAN นอกจากนี้ภายใต้ระบบ SAN สามารถมีเซิร์ฟเวอร์หลาย ๆ ตัว หรือเป็นจำนวนมาก ที่สามารถเข้ามา Access ใช้งานในกลุ่มของอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล ที่ดูแลภายใต้ SAN ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

วันพฤหัสบดีที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2554

แบบฝึกหัด บทที่ 1


1.จงอธิบายความหมายของคำดังต่อไปนี้ พร้อมยกตัวอย่างเหตุการณ์ในชีวิตประจำวัน
 1.1 เทคโนโลยี
เทคโนโลยี (Technology) หมายถึง การนำความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ หรือความรู้ด้านอื่นๆ ที่ได้จัดระเบียบดีแล้วมาประยุกต์ใช้ในด้านใดด้านหนึ่ง เพื่อให้งานนั้นมีความสามารถและประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น
1.2 สารสนเทศ
สารสนเทศ (Information) หมายถึง ข้อมูลที่ผ่านกระบวนการเก็บรวบรวมและเรียบเรียง เพื่อใช้เป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้
1.3 เทคโนโลยีสารสนเทศ
เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) หมายถึง การนำเทคโนโลยีมาใช้ในงานที่เกี่ยวกับการประมวลข้อมูลเพื่อให้ได้สารสนเทศ ซึ่งเทคโนโลยีที่ใช้เป็นการผสมผสานระหว่างเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์กับเทคโนโลยีการสื่อสารเพื่อช่วยในการสื่อสาร และการส่งผ่านข้อมูลและสานสนเทศได้สะดวกรวดเร็วมากขึ้น
1.4 ข้อมูล
ข้อมูล (Data) คือ ข้อเท็จจริงหรือสาระต่าง ๆที่เกี่ยวข้องกับงานที่ปฏิบัติ อาจเป็นตัวเลขหรือข้อความที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงาน  หรือที่ได้จากหน่วยงานอื่น ๆ ข้อมูลเหล่านี้ ยังไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการตัดสินใจได้ทันที จะนำไปใช้ได้ก็ต่อเมื่อผ่านกระบวนการประมวลผลแล้ว
1.5 ฐานความรู้
ฐานความรู้ (knowledge base) คือ สารสนเทศที่ได้จัดเป็นโครงสร้างความรู้ความเข้าใจ ประสบการณ์ ความเชี่ยวชาญและต้องมีคุณค่าเพื่อแก้ไขปัญหาในการดำเนินงานต่างๆได้

2.โครงสร้างสารสนเทศมีอะไรบ้าง จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่าง
 - ระดับล่างสุด เป็นการใช้คอมพิวเตอร์ทำงานประมวลผลข้อมูล ซึ่งเรียกว่าระบบการประมวลผลรายการ (transaction processing system)
- ระดับที่สอง เป็นการใช้คอมพิวเตอร์จัดทำสารสนเทศ เพื่อใช้ในการวางแผนการตัดสินใจและการควบคุมที่เกี่ยวเนื่องกับงานประจำวัน ซึ่งเรียกว่า งานควบคุมการดำเนินงาน (operation control)
 - ระดับที่สาม เป็นการใช้คอมพิวเตอร์จัดทำสารสนเทศสำหรับผู้บริหารจัดการระดับกลางใช้ในการจัดการและวางแผนระยะสั้นตั้งแต่ 6 เดือน ถึง 1 ปี ซึ่งเรียกว่า งานควบคุมการจัดการ (management control)
 - ระดับที่สี่ เป็นการใช้คอมพิวเตอร์จัดทำสารสนเทศสำหรับผู้บริหารจัดการระดับสูง สำหรับใช้ในงานวางแผนระยะยาว ซึ่งเรียกว่าการวางแผนกลยุทธ์ (strategic planning)
ตัวอย่าง

3.วิวัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศมีอะไรบ้าง จงอธิบาย จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่าง

เทคโนโลยีสารสนเทศ ค.ศ. 1950 - 1960 ระบบการประมวลผลข้อมูล
          ยุคนี้เป็นยุคแรก ๆ ของการนำคอมพิวเตอร์มาใช้งาน บทบาทของคอมพิวเตอร์ยังเป็นบทบาทที่ง่าย ๆ เป็นการนำเอาคอมพิวเตอร์มาช่วยทำงานประจำที่ใช้มนุษย์ปฏิบัติเช่น การทำบัญชี การเก็บรักษาบันทึกต่างๆ และการประมวลผลทางอิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ
เทคโนโลยีสารสนเทศ ค.ศ.1960-1970 ระบบสร้างรายงานสำหรับผู้บริหาร 
          หลังจากการนำเอาคอมพิวเตอร์มาประมวลผลงานรายการต่าง ๆ ได้มีการเพิ่มบทบาทของคอมพิวเตอร์มาช่วยงานของผู้บริหาร โดยเริ่มมีการใช้คอมพิวเตอร์สร้างรายงาน การปฏิบัติงานต่าง ๆ ที่มีการกำหนดรูปแบบรายละเอียดไว้ล่วงหน้าเป็นการสรุปผลการทำงานสำหรับผู้บริหารเพื่อประกอบการตัดสินใจ เช่น รายงานยอดขายประจำสัปดาห์ ประจำเดือน หรือประจำปี รายงานรายได้รายจ่ายขององค์กรหรือธุรกิจ เป็นต้น

เทคโนโลยีสารสนเทศ ค.ศ.1970-1980 ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ
          ต่อมาผู้บริหารพบว่ารายงานที่มีการกำหนดรายละเอียดไว้ก่อนเพียงอย่างเดียวนั้น ยังไม่เพียงพอต่อการตัดสินใจของผู้บริหาร จึงเริ่มมีการพัฒนาระบบสนับสนุนการตัดสินใจขึ้นมา เป็นระบบที่นำมาช่วยในการจำลองเพื่อหาสารสนเทศที่จำเป็นสำหรับผู้บริหาร ซึ่งมักจะเป็นการคำนวณหาค่าที่ต้องการแล้วนำมาพิจารณาประกอบในการตัดสินใจต่าง ๆ บทบาทใหม่นี้เป็นการจัดหาสารสนเทศให้กับผู้บริหาร ณ เวลาที่ต้องการและเป็นแบบที่ผู้บริหารโต้ตอบกับระบบโดยตรงเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจ ลักษณะของระบบสนับสนุนการตัดสินใจนี้จะเป็นระบบเฉพาะสำหรับผู้บริหารแต่ละคนตามความต้องการและวิธีการตัดสินใจในปัญหาต่าง ๆ


เทคโนโลยีสารสนเทศ ค.ศ. 1990-ปัจจุบัน ระบบเครือข่ายสากล
          ตั้งแต่ทศวรรษ 1990 เป็นต้นมา พัฒนาการทางด้านการเชื่อมต่อเครือข่ายเป็นการ เชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบเปิดที่เครือข่ายใด ๆ ในโลกก็สามารถเชื่อมต่อเข้าสู่ ระบบได้ และยังมีการนำเทคโนโลยีการเชื่อมต่อแบบเดียวกันนี้ไปประยุกต์ใช้ในองค์กร เรียกว่า อินทราเน็ต (Intranet) และระหว่างองค์กรที่เป็นเครือข่ายพันธมิตร เรียกว่า เอกซ์ทราเน็ต (Extranet) การดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ โดยผ่านทางเครือข่ายเป็นไป อย่างกว้างขวาง สะดวก รวดเร็ว เช่น พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic commerce หรือ E-commerce) เป็นการซื้อขายสินค้าผ่านเครือข่าย ธนาคารอิเล็กทรอนิกส์ การดำเนินธุรกิจธนาคารทางเครือข่าย หรือแม้กระทั่งงานบริการจากฝ่ายรัฐบาล ที่เรียกว่า รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (E-government) เป็นต้น

เทคโนโลยีสารสนเทศ ค.ศ.1980-1990 บทบาทที่หลากหลาย
ระยะแรกสุด   เป็นแบบผู้ใช้ปลายทางพัฒนาเอง (End user computing) โดยผู้ใช้ระบบสารสนเทศใช้ระบบคอมพิวเตอร์และทรัพยากรที่มีอยู่ในการพัฒนาระบบสารสนเทศมาสนับสนุนงานที่ตัวเองต้องการแทนการรอคอยให้ฝ่ายพัฒนาระบบขององค์กรพัฒนาให้
ระยะที่สอง   มีการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหารระดับสูง (eis:executive informationsysttems) ขึ้นมา ระบบสารสนเทศ eis นี้ทำให้ผู้บริหารระดับสูงได้รับข่าวสารเกี่ยวกับจุดวิกฤติขององค์กรที่ต้องการได้ ณ เวลามี่ตองการและสารสนเทศนั้นถูกจัดอยู่ในรูปเเบบที่ต้องการ

ระยะที่สาม   มีการพัฒนาระบบและการประยุกต์ระบบปัญญาดิษฐ์ (aL : ARTIFICIALINTELLIGNCE) เป็นระบบที่นำเอาความเชี่ยวชาญ ประสบการณ์ของผู้รู้มาใส่ในคอมพิวเตอร์ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาให้กับผู้ใช้ เมื่อผู้ใช้ต้องการปรึกษาก็จะสอบถามเข้าไปในระบบ ระบบจะไปค้นหาวิธีการต่าง ๆ ที่ผู้เชี่ยวชาญใช้ในการปฏิบัติต่อปัญหาต่าง ๆ พร้อมเหตุผล แสดงออกมาให้ผู้ใช้นำไปประกอบการตัดสินใจ

แบบฝึกหัด บทที่ 2

บลูเรย์ (Blu-ray Disc)
บลูเรย์ดิสค์ (Blu-ray Disc) หรือ บีดี (BD) คือรูปแบบของแผ่นออพติคอลสำหรับบันทึกข้อมูลความละเอียดสูง ชื่อของบลูเรย์มาจาก ช่วงความยาวคลื่นที่ใช้ในระบบบลูเรย์ ที่ 405 nm ของเลเซอร์สี "ฟ้า" ซึ่งทำให้สามารถทำให้เก็บข้อมูลได้มากกว่าดีวีดี ที่มีขนาดแผ่นเท่ากัน โดยดีวีดีใช้เลเซอร์สีแดงความยาวคลื่น 650 nm
ประวัติ
มาตรฐานของบลูเรย์พัฒนาโดย กลุ่มของบริษัทที่เรียกว่า Blu-ray Disc Association ซึ่งนำโดย ฟิลิปส์ และ โซนี เปรียบเทียบกับ เอ็ชดีดีวีดี (HD-DVD) ที่มีลักษณะและการพัฒนาใกล้เคียงกัน บลูเรย์มีความจุ 25 GB ในแบบเลเยอร์เดียว (Single-Layer) และ 50 GB ในแบบสองเลเยอร์ (Double-Layer) ขณะที่ เอ็ชดีดีวีดีแบบเลเยอร์เดียว มี 15 GB และสองเลเยอร์มี 30 GB
ความจุของบลูเรย์ดิสค์  ซึ่งปกติแผ่นบลูเรย์นั้นจะมีลักษณะคล้ายกับแผ่น ซีดี/ดีวีดี โดยแผ่นบลูเรย์จะมีลักษณะแบบหน้าเดียว และสองหน้า โดยแต่ละหน้าสามารถรองรับได้มากถึง 2 เลเยอร์ อาทิ
 แผ่น BD-R (SL) หมายถึง Blu-Ray Disc ROM แบบ Single Layer แบบหน้าเดียว มีความจุ 25 GB
แผ่น BD-R (DL) หมายถึง Blu-Ray Disc ROM แบบ Double Layer แบบหน้าเดียว มีความจุ 50 GB
แผ่น BD-R (2DL) หมายถึง Blu-Ray Disc ROM แบบ Double Layer แบบสองหน้า มีความจุ 100 GB
ส่วนความเร็วในการอ่านหรือบันทึกแผ่น Blu-Ray ที่มีค่า 1x, 2x, 4x ในแต่ละ 1x จะมีความเร็ว 36 เมกะบิต ต่อ วินาที นั่นหมายความว่า 4x นั่นจะสามารถบันทึกได้เร็วถึง 144 เมกะบิต ต่อ วินาที โดยมี นักวิทยาศาสตร์จาก NASA เป็น ผู้พัฒนาต่อจาก ระบบบันทึกข้อมูลที่ใช้ในโครงการอวกาศ

1. องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์ มีอะไรบ้าง
  1. ฮาร์ดแวร์ (Hardware)
  2. ซอฟต์แวร์ (Software)
  3. บุคลากร (People ware)
  4. ข้อมูลและสารสนเทศ (Data / Information)
  5. กระบวนการทำงาน (Procedure)
  6. ระบบสื่อสารข้อมูล (Data Communication)
2. ฮาร์ดแวร์ (Hardware) คืออะไร
คือ ลักษณะทางกายของเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งหมายถึงตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ และ อุปกรณ์รอบข้าง (peripheral) ที่เกี่ยวข้อง เช่น ฮาร์ดดิสก์ เครื่องพิมพ์ เป็นต้น ฮาร์ดแวร์ประกอบด้วย
    • หน่วยรับข้อมูล ( input unit )
    • หน่วยประมวลผลกลาง ( central processor unit ) หรือ CPU
    • หน่วยความจำหลัก
    • หน่วยแสดงผลลัพธ์ (output unit )
    • หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง (secondary storage unit )
3.ซอฟต์แวร์ (Software) คืออะไร
คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ที่ประกอบออกมาจากโรงงานจะยังไม่สามารถทำงานใดๆ เนื่องจากต้องมี ซอฟต์แวร์ (Software) ซึ่งเป็นชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่สั่งให้ฮาร์ดแวร์ทำงานต่าง ๆ ตามต้องการ โดยชุดคำสั่งหรือโปรแกรมนั้นจะเขียนขึ้นมาจาก ภาษาคอมพิวเตอร์ (Programming Language) ภาษาใดภาษาหนึ่ง และมี โปรแกรมเมอร์ (Programmer) หรือนักเขียนโปรแกรมเป็นผู้ใช้ภาษาคอมพิวเตอร์เหล่านั้นเขียนซอฟต์แวร์ต่าง ๆ ขึ้นมา ซอฟต์แวร์ สามารถแบ่งออกเป็นสองประเภทใหญ่ๆคือ
    • ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software )
    • ซอฟต์แวร์ประยุกต์ ( Application Software )

4.หน้าที่ของอุปกรณ์รับข้อมูลเข้า คือ
หน้าที่ของอุปกรณ์รับข้อมูลเข้า คือ เป็นอุปกรณ์รับเข้าทำหน้าที่รับโปรแกรมและข้อมูลเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์รับเข้าที่ใช้กันเป็นส่วนใหญ่คือ แผงแป็นอักขระ (keyboard) และเมาส์ (mouse)  นอกจากนี้ เช่น VDO camera,Scanner,Microphone ,Trackball ,Joystick เป็นต้น

5.หน้าที่ของอุปกรณ์ประมวลผล คือ
หน้าที่ของอุปกรณ์ประมวลผล คือ การประมวลผลของคอมพิวเตอร์เกิดขึ้นจากการทำงานประสานกันของหน่วยประมวลผลและหน่วยความจำหลักหรือหน่วยความจำภายใน โดยหน่วยประมวลผลจะทำหน้าที่ควบคุมและปฏิบัติการตามขั้นตอนของโปรแกรม ในขณะที่หน่วยความจำจะเป็นที่พักของโปรแกรม ข้อมูลนำเข้า และผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลก่อนนำออกไปแสดงทางอุปกรณ์แสดงผล

6.หน้าที่ของหน่วยความจำ คือ
หน้าที่ของหน่วยความจำ คือ เป็นส่วนที่หน้าที่ในการเก็บคำสั่งและข้อมูล รวมทั้งผลที่ได้จากการประมวลผลจากส่วนคำนวณและเปรียบเทียบ นอกจากนี้ยังทำหน้าที่ในการส่งหรือคัดลอก (Copy) ข้อมูลจากหน่วยความจำไปยังหน่วยอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องข้อมูล แต่ละข้อมูลจะถูกกำหนดตำแหน่งให้เก็บในหน่วยความจำเพียงตำแหน่งเดียวหน่วยความจำกำหนดเป็นไบต์ (Byte) ซึ่งหมายถึงตัวอักษรหรือสัญลักษณ์ 1 ตัว ที่กำหนดเป็นรหัสจากบิต (Bit) ตามมาตรฐานการกำหนดรหัส

7.จงบอกถึงหน่วยความจำสำรอง
หน่วยความจำสำรอง หรือหน่วยความจำภายนอก (Secondary Memory or External  Memory) เป็นหน่วยความจำที่มิได้ติดอยู่กับเครื่องตลอดเวลสามาถเคลื่อนย้ายไปมาได้ มีราคาถูกสามารถเก็บข้อมูลได้มาก ที่นิยมใช้ปัจจุบัน เป็นประเภทของ Diskette 3.5 นิ้ว (ความจุ 1.44 MB.), แผ่น Compact Disc: CD (ความจุ 650 MB.) ซึ่ง Compact Disc นี้กำลังเริ่มได้รับความนิยมเป็นอย่างมากเนื่องจากสามารถเขียนและอ่านได้เป็นอย่างดี จึงสามารถทำงานได้เทียบกับหน่วยความจำหลักเลยทีเดียว

8.หน้าที่ของอุปกรณ์แสดงผล คือ
เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่รับผลจากการประมวลผลที่เก็บไว้ในหน่วยความจำหลัก ออกแสดงตามลักษณะของอุปกรณ์ ซึ่งมีอยู่ไม่กี่ประเภทที่นิยมใช้ คือ จอภาพ เป็นอุปกรณ์แสดงผลที่สามารถติดต่อกับผู้ใช้คอมพิวเตอร์ได้ทันทีที่มีการประมวลผลเกิดขึ้น ทำให้ผู้ใช้งานสามารถสั่งให้ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงได้ทันทีจอภาพมีหลายชนิด เช่น แบบโมโนโครม แบบเกร์สเกล และแบบสี เป็นต้น
อุปกรณ์แสดงผลของคอมพิวเตอร์ เช่น
o       จอแสดงผล หน้าจอ LCD,CRT
o       Sound Card (การ์ดเสียง)
o       ลำโพง (Speaker)
o       เครื่องพิมพ์ (Printer)

9.จงบอกถึงอุปกรณ์ในการพิมพ์
คือ อุปกรณ์ที่ต่อพ่วงกับคอมพิวเตอร์ทำหน้าที่พิมพ์แฟ้มดิจิทอล (Soft Copy) ออกมาเป็นเอกสารในรูปกระดาษ (Hard Copy) แฟ้มดิจิทอลที่อยู่ในคอมพิวเตอร์อาจเป็นภาพ ตัวอักษร และมีสีที่แตกต่างกัน เครื่องพิมพ์ที่น่าใช้มีให้เลือกมากมายด้วยคุณสมบัติที่เพิ่มขึ้นกว่าในอดีตที่ใช้เพื่องานพิมพ์เท่านั้น เช่น คัดลอกเอกสารหรือเป็นเครื่องถ่ายเอกสาร แปลงข้อมูลจากเอกสารเป็นแฟ้มดิจิทอล พิมพ์เอกสารจากแฟ้มดิจิทอล เป็นเครื่องโทรสาร และโทรศัพท์ในเครื่องเดียวกัน รูปแบบของการพิมพ์แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
เครื่องพิมพ์ชนิดกระทบ (Impact printer) ใช้การตอกให้คาร์บอนบนผ้าหมึกติดบนกระดาษตามรูปแบบที่ต้องการ
เครื่องพิมพ์ชนิดไม่กระทบ (Nonimpact printer) ใช้เทคนิคการพิมพ์จากวิธีการทางเคมี

10.หน้าที่ของบุคลากรคอมพิวเตอร์
บุคลากรทีมีความเกี่ยวข้องกับระบบคอมพิวเตอร์ มีบทบาทและหน้าที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับลักษณะของงานที่รับผิดชอบ ซึ่งสามารถสรุปเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ดังนี้
1.1. ผู้จัดการระบบ (System Manager) 
คือ ผู้วางนโยบายการใช้คอมพิวเตอร์ให้เป็นไปตามเป้าหมายของหน่วยงาน
1.2. นักวิเคราะห์ระบบ (System Analyst) 
คือ ผู้ที่ศึกษาระบบงานเดิมหรืองานใหม่และทำการวิเคราะห์ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ในการใช้คอมพิวเตอร์กับระบบงาน เพื่อให้โปรแกรมเมอร์เป็นผู่เขียนโปรแกรมให้กับระบบงาน
1.3.โปรแกรมเมอร์ (Programmer) 
คือ ผู้เขียนโปรแกรมสั่งงานเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อให้ทำงานตามความต้องการของผู้ใช้ โดยเขียนตามแผนผังที่นักวิเคราะห์ระบบได้เขียนไว้
1.4 ผู้ใช้ (User) 
คือ ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ทั่วไป ซึ่งต้องเรียนรู้วิธีการใช้เครื่อง และวิธีการใช้งานโปรแกรม เพื่อให้โปรแกรมที่มีอยู่สามารถทำงานได้ตามที่ต้องการ
เนื่องจากเป็นผู้กำหนดโปรแกรมและใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ มนุษย์จึงเป็นตัวแปรสำคัญในอันที่จะทำให้ผลลัพธ์มีความน่าเชื่อถือ เนื่องจากคำสั่งและข้อมูลที่ใช้ในการประมวลผลได้รับจากการกำหนดของมนุษย์ (Peopleware) ทั้งสิ้น